ธรณีฟิสิกส์-แนวทางใหม่การสำรวจแหล่งแร่โปแตช (ชิลไวท์) ในภาคอีสานของประเทศไทย


                 อนุโมทนาคุณ ก่อนอื่นผู้เขียน (ไสว สุนทโรวาท) ขอขอบคุณนายทวีศักดิ์ ดานุสวัสดิ์ แห่งกรมทรัพยากรธรณีที่ได้มอบข้อมูลธรณีฟิสิกส์ (แกรวิเมตริก) (รูปที่ 1.2) อันมีค่าให้ข้อมูลนี้ได้จากการแปลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งบริษัทเอสโซเอ็กซโปรเรชัน เป็นผู้จัดรวบรวมทำจากข้อมูลที่ได้จากกรมแผนที่ทหารและข้อมูลจากฝ่ายธรณีฟิสิกส์ของกรมทรัพยากรธรณีเอง รวมทั้งข้อมูลจากแหล่งอื่นๆด้วย นำมาประกอบเป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาและขอขอบคุณกองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณีที่มอบข้อมูลธรณีฟิสิกส์ (ไซสมิก) (รูปที่ 3) ซึ่งบริษัทยูเนียนออยล์ได้รวบรวมไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว ทั้งนี้ด้วยความอนุเคราะห์ของอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (นายพิสุทธิ์ สูทัศน์ ณ อยุธยา) นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลอันล้ำค่าจากการเจาะสำรวจหาแหลางแร่โปแตซก็ได้รับ ความอนุเคราะห์จากนายธวัช จาปะเกษตร แห่งกรมทรัพยากรธรณี ผู้เขียนจึงถือโอกาศขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กล่าวนานมาแล้ว รวมทั้งผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการเสาะแสวงหาข้อมูลเหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งมิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้ด้วย


                 คำนำ หลักจากผู้เขียนได้ลงบทความเกี่ยวกับแหล่งแร่โปเตชไปรวม 5 ตอน จากปี 2519 ถึง 2521 แล้ว (ไสว สุนทโรวาท,พฤศจิ.1519,กรกฎ.2520,พฤศจิ 2520,มกร 2521,มีน 2521) ผู้เขียนก็มาติดที่ทางตันเพราไม่สามารถจะหาหลักฐานทางธรณีฟิสิกส์มาสนับสนุน ทฤษฏี “เตาขนมครก” ของเกลือโปแตชในอีสานให้ชัดแจ้งเห็นจริงได้ ว่าเกลือโปแตชนั้นสะสมตัวอยู่ภายใน “แอ่งเล็กแอ่งน้อย” ซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินลงไปเป็นร้อยๆพันๆฟุต ความจริงแล้วข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์นั้นมีอยู่บ้าง แม้จะไม่มากแต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้เขียนมาพบมันเข้าเป็นครั้งแรกด้วยเหตุบังเอิญก็เมือสายเสียแล้ว คือเมื่อการเจาะสำรวจโปแตชจวนจะสิ้นสุดลงเหลือเพียงหลุมสุดท้ายที่อำเภอเชือกเท่านั้น ก็เข้าทำนอง “พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น” นั้นเอง แต่ผู้เขียนก็ยังหวังว่ามันคงจะไม่ลงแบบ “Life begins at seventy” หรอกนะ อย่างมากก็เพียงแค่ “Better be late than never” ดังที่เคยพร่ำมาแล้วในบทความก่อนๆ


                 ผู้เขียนจะเว้นเสียไม่กล่าวถึงรายละเอียดของทฤษฎี “เตาขนมครก” ของการเกิดแห่งแร่โปแตชในอีสาน เพราะได้เขียนอย่างละเอียดและทำนายไว้แล้วในบทความเรื่อง “ทฤษฎี” เตาขนมครก ของเกลือโปแตชในอีสาน ลงในข่าวสารการธรณีเดือนกรกฎาคม 2520 ความจริงบทความเกี่ยวกับโปแตชตอนแรก (พฤศจิก.2519) ได้มีนักธรณีวิทยาไทยผู้หนึ่งนำไปย่อยเป็นภาษาอังกฤษและตีพิมพ์ใน Proc of the Third Reg Conf on Geol & Min res, of S.E. Asia, (ed. By P. Nutalaya) 1978 หน้า 802 ดังนี้ “Suggested that the Potash and the salt formation of the Khorat Group had originated from the western sea in Chao Phya Basin in the Late Cretaceous 10 Tertiary tine ” (ผู้เขียนย้ำเอง) ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อเพียงแต่ขอติงว่า ผู้เขียนไม่เคยเชื่อเลยจนกระทั้งบัดนี้ว่าชั้นเกลือมีอายุ Late Cretaceous และไม่เคยเขียนไปเช่นนี้ ไม่ว่าในบทความดังกล่าวหรือในบทความต่อมา แต่กลับเชื่อว่าอายุจะมีอายุราว Pleistocene หรือ Late Tertiary มากกว่า บทความตอนหลังๆจึงเป็น Late Tertiary เพราะได้หลักฐานมาเพิ่มเติม (ไสว สุนทโรวาท,มีนาคม 2521) หากผู้เขียนมีความเชื่อว่าชั้นเกลือมีอายุ Late Cretaceous แล้วไซร์ ทฤษฏี “เตาขนมครก” จะไม่มีวันอุบัติขึ้นมาได้เลยพูดง่ายๆ ผู้เขียนเอาทั้งเงิน “กล่อง” คือทั้ง “เตาขนมครก” และอายุ Tertiary ของชั้นเกลือ พร้อมกันไปเหมือนกับคู่แฝด คือ เกลือนั้นมาบรรจุ (Fill in) ใน “เตาขนมครก” ส่วนเกลือโปแตชนั้นจะอยู่ใกล้บริเวณส่วยลึกของแอ่ง หรือ “เตาขนมครก” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือซิลไวท์อันเป็นยอดปรารถนาของการเจาะสำรวจเท่าที่ได้กระทำมาแล้ว ส่วนเกลืออื่นๆ เช่น เกลือคาร์นาไลท์ เกลือหินนั้นควรจะพบในที่สูงขึ้นมาตามลำดับ คือใกล้ของแอ่งเข้าไปหรืออาจอยู่บนที่ Structurally High เลยที่เดียวเลยก็ได้ถ้าเผอิญน้ำทะเลในขณะนั้นสูงล้นขอบแอ่งอย่างไรก็ตาม เราควรจะพบทั้งคาร์นาไลท์และเกลือหินอยู่ใต้ซิลไวท์อยู่ดีนั้นเอง เว้นแต่ในบริเวณพิเศษบางแห่งที่อาจจะแหวงแนวออกไป และเราเคยพบบ้างแล้วแต่น้อยแห่งเนื่องจากในที่นี้เรามุ่งจะหาแต่ ซิลไวท์ ฉะนั้นเราจะไม่พูดถึงเกลือคาร์นาไลท์เกลือหินและยิปวั่มอีก ในแผนที่ทั้งหมด 3 แผ่น (รูปที่1,2และ3) นั้นแสดงเฉพาะจุดที่เราได้เคยเจาะพบซิลไวท์มาแล้วเท่านั้น (บางจุดเว้นไปถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปซึ่งเมื่อลงในแผนที่มาตรฐานส่วนเล็กๆแล้วก็เกือบจะทับเป็นจุดเดียวกัน) ในชั้นแรกถ้าเราพิจารณาเปรียบเทียบรูปที่ 1 หรือ 2 กับรูปที่ 3 ในบริเวณเดียวกัน เช่นบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธรแล้วเราจะมองเห็นทันที่ว่า “Seismic Low” กับ “ Gravimetric Low” นั้นนมีรูปร่างและแนวการเรียงตัวคล้ายกัน คือประมาณตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกฉียงใต้ ซึ่งแนวนีผู้้เขียนได้ทำนายไว้นานแล้ว (ไสว สุนทโรวาท, พฤศจิกา 2519 หน้า 7-8) แต่เนื่องจากรูปที่ 3 นั้นเป็น Structural-Contour Map ที่แปลจากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทางไซสมิก Contours เหล่านี้เขียนที่ใต้หินชุดโคราช และ Contours เหล่านั้นแหละที่แสดงถึงรูปร่างและขนาดโดยประมาณ “แอ่ง” หรือ “เตาขนมครก” ที่หินชุดอายุอ่อนกว่าอันรวมทั้งชั้นเกลือด้วยนั้นมาบรรจุ (Fill in) อยู่หินชุดบนๆ นี้อาจจะมีอายุเป็น Tertiary (ดูบทความของผู้เขียนตอนก่อนๆ) เมื่อรูปที่ 3 เป็น Structural-Contour Map รูปที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็น Gravimetric Low นั้นตรงกับ “แอ่ง” หรือ “เตาขนมครก” ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะในแอ่งมีเกลือบรรจุอยู่มากเราจึงได้ “ Gravimetric Low” เกลือนั้นเบากว่าหินตะกอนอย่างอื่นๆอยู่แล้ว



                 ตอนนี้ก็มาถึงจุดไคลแมกช์ของเรื่องกล่าวคือถ้าเราพิจารณาดูรูปที่1 ให้ละเอียดเราจะเห็นทันทีว่า เกลือซิลไวท์จะพบในบริเวณใกล้ส่วนลึกของแอ่งหรือ “เตาขนมครก” เข้าไปเท่านั้นซึ่งบริเวณเช่นว่านี้มิได้แสดงแต่เฉพาะแห่งเดียว แต่มีอยู่กระจายหลายบริเวณด้วยกันจากนี้เราจะมองเห็นทันทีว่าหากเรามิได้ขาดเสียซึ่งวิจารณญาณ ว่าเราสามารถจะ “ขีดวง” สำรวจและวางแผนหาเกลือซิลไวท์ได้ล่วงหน้า แต่เราต้องเลือกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง (ความจริงจะทำหลายบริเวณพร้อมกันก็ได้ถ้าเรามีกำลังคนและอุปกรณ์พอ) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมทางด้าน Economic เช่นทางคมนาคม ความลึกของแหล่งโดยประมาณ ฯลฯ


                 และเมื่อเลือกวิธีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ชนิดที่ถูที่สุดแต่ในได้ผล (ผู้เขียนขอมอบหน้าที่นี้ให้นักธรณีฟิสิกส์รับไป) เพื่อทำรายละเอียดของแต่ละ “แอ่ง” หรือ “เตาขนมครก” ต่อผู้เขียนทำนายไว้ว่า “แอ่ง” เช่นว่านี้จะมีแอ่งน้อยซ่องอยู่ข้างในอีกเป็นแน่แท้ มันจะไม่ออกมาเป็นรูปกระทะแต่จะเป็นรูปเตาขนมครกขนาดย่อมลงมากว่าแอ่งโคราชมากมายพูดง่ายๆจะเป็นแอ่งโคราช “ขนาดจิ๋ว” ทำนอง “เชื้อไม่ทิ้งแถว”


                  ก่อนจบผู้เขียนใคร่จะทิ้งปัญหาอันน่าสนใจทางธรณีวิทยาไว้ให้พวกเรา “สาน” กันต่อไปปัญหาเหล่านี้ผู้เขียนเคยเกริ่นไว้บางแล้วในบทความก่อนๆ แต่จะทบทวนอีกครั้งหนึ่งดังนี้


              1. หากท่านเชื่อว่าชั้นหินยุคหลังชุดโคราชนั้น “บรรจุ” อยู่ใน “แอ่ง” ของหินชุดโคราช ซึ่งตอนนี้หลักฐานชักจะมั่นคงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วหินที่ทับอยู่บนหินชุดโคราชจะต้องวางตัวแบบมี Unconformity กับหินชุดโคราชแน่ หินเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งชั้นเกลือด้วยนั้นควรจะใช้ชื่อว่า “ชุดโคราช” ต่อไปหรือไม่หรือควรจะตั้งชื่อใหม่ ผู้เขียนขอแสดงความยินดีกับกองธรณีวิทยาด้วยที่ได้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิด คงจะได้ผลมาเล่าสู่กันฟังในไม่ช้า


              2. เวลานี้แม้แต่นักธรณีวิทยาต่างประเทศ (Hite & Japakasetr , 1979 , p 457) ก็ยอมรับว่า น้ำทะเล ที่ให้เกลือในแอ่งโคราชอาจจะมาจากทิศตะวันตก ซึ่งผู้เขียนได้เขียนไว้แล้วในบทความตอนแรกเดือนพฤศจิกายน 2519 แต่เราคิดว่าทะเลนี้ติดต่อกับ Tethys Sea ทางเหนือ จากการเยี่ยมเยือนประเทศจีนของผู้เขียนเมื่อไม่นานมานี้ได้ทราบจากนักธรณีวิทยาจีนว่าไม่มีทางที่ทะเลจะเข้ามาทางนั้นได้แต่แหล่งโปแตชที่ยูนานของเขาซึ่งอยู่ใกล้ Tethys Sea มากกว่าของเราก็ยังไม่มีร่องรอยว่าจะมาจาก Tethys Sea แอ่งโคราชของเราซึ่งอยู่ใต้ลงมามากก็ยิ่งไกล Tethys Sea ออกไปเพียงนั้น ฉะนั้นเราลองหาทางที่น้ำทะเลเข้ามาจากอ่าวไทยดูบ้างเป็นไร ที่ผู้เขียนชอบทางนี้ก็เพราะว่าเรามีแหล่งยิปซัมและแอนไฮไดรท์ที พิจิตร นครสวรรค์ และเลย ซึ่งอาจจะมีอายุเดียวกันหรือไล่เลี่ยกับเกลือหินและโปแตชของแอ่งโคราช ผู้สนใจโปรดหาช่องทางนี้ที่น้ำทะเลบุกรุกเข้ามาในล่มเจ้าพระยาเอาเองแล้วกัน กองเชื้อเพลิงธรรมชาติน่าจะลองๆหาดู อาจจะมีประโยชน์ทางด้านสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ


              3. ลองใช้ธรณีฟิสิกส์หาแหล่งยิปซัมแถวลุ่มน้ำเจ้าพระยาดูบ้าง อาจจะพบแหล่ง Economic ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกก็เป็นได้