การประยุกต์ทฤษฎี “กำเนิดน้ำมันในฝาง” ในการสำรวจหาน้ำมันในประเทศไทย


                 บทความนี้เขียนข้นเพื่อมีจุดมุ่งหมายจะอธิบายให้ผู้ที่อยู่นอกวงการธรณีวิทยาได้เข้าใจถึงเรื่องความเป็นมาของทฤษฎี “กำเนิดน้ำมันฝาง” ตลอดจนคุณค่าของมันในการสำรวจหา น้ำมัน ผู้เขียนมิได้มีเจตนารมณ์จะกล่าวถึงเรื่อง ก๊าซธรรมชาติ เพราะมีเรื่องยุ่งยากสลับซับซ้อนกว่าน้ำมันมาก ดังที่ผู้อ่านพอจะทราบบ้างแล้วจากหน้าหนังสือพิมพ์ อนึ่งขอให้เข้าใจด้วยว่าเรื่องราวกำเนิดของน้ำมันนี้มีมาตั้งแต่สมัยเทอร์เซียรี (Tertiary) คือเมื่อราวสองล้านถึง 65 ล้านปีมาแล้ว มิใช่เหตุการณ์หรือภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วหลักฐานต่างๆทางด้านวิชาการส่วนใหญ่ก็ฝั่งลึกอยู่ใต้ดินเป็นร้อยๆพันๆปีเมตร ซึ่งการทดสอบทำได้ด้วยวิธีการเช่น ธรณีฟิสิกส์เป็นต้น แล้วลงเอยด้วยการเจาะสำรวจซึ่งเป็นขั้นตอนที่เปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดคิดเป็นร้อยๆพันๆล้านๆบาท แต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด


                 ผู้อ่านที่สนใจด้านวิชาการเป็นพิเศษขอได้โปรดอ้างอิงถึงเอกสารที่ผู้เขียนได้เขียนและตีพิมพ์ไปแล้วคือ เอกสารรายงานวิจัยฉบับที่ 7 (ภาษาอังกฤษ) ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ในชื่อเรื่องว่า “Geology of Oil, Oil Shale and Coal in the Tertiary Basins of Northern Thailand with a Hypothesis on the Origin of the Oil of Probabie Non-Marine Origin” (หมายเหตุ-เอกสารนี้เดิมตีพิมพ์เมื่อปี 2507 Thai Shell ที่ขอพื้นที่เพิ่มเติมคงจะขยายขนาดเขตของ Model-1 ออกไป


                 ขอขยายความเรื่อง Stratigraphic Traps ออกไป เรื่องนี้ต้องอาศัย Model-1 (ดูรูป) คือเป็น Non-Marine Lacustrine Environment หรือทะเลสาบ เราจะต้องสร้างมะโนภาพว่าหลังจากการสะสมตัวของ Source Material ของน้ำมันในส่วนลึกของทะเลสาบแล้ว ภายหลังน้ำมันที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนตัวขึ้นมาหาชายฝั่ง ในกรณีเช่นนี้มันจะไปหยุดสะสมตัวที่ไหนเล่า อาจจะเป็นตอนที่ชั้นหินตีบเข้าหากัน ก็เป็นลักษณะการเก็บกักแบบนี้เรียกว่า Stratigraphic Traps ซึ่งควรจะมี Model ชี้แนะมาตั้งแต่ตอนต้น (หมายเหตุ บริษัท Thai Shell ได้ขอพื้นที่เพิ่มเติมขยายออกจากที่เดิมประมาณ 5,000 ตาราง กม. คงจะมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับข้างต้น พื้นที่เดิมที่ขอไว้คงจะไม่พอเพียง)


                 ความลึกในการเจาะและหากเราเชื่อใน Model-1 เราก็ไม่จำเป็นต้องเจาะลึกจนทะลุก้นแอ่ง ทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายและไม่ต้องใช้เครื่องเจาะใหญ่มากๆที่จะเจาะได้ลึกๆด้วย


                 การสำรวจแอ่งเทอร์เซียรีอื่นๆ “ทฤษฎีน้ำมันฝาง” ได้ให้ความหวังในการสำรวจหาน้ำมันในแอ่งเทอร์เซียรีต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาเลยหรือสำรวจเพียงผิวเผิน ตัวอย่างเช่นแอ่งต่างๆ ในภาคเหนือของกรมการพลังงานทหาร เป็นต้น ในอนาคตหากน้ำมันมีราคาสูงขึ้นไปอีก เราอาจจะสำรวจแอ่งเทอร์เซียรีเล็กๆของเราเองก็เป็นได้


                  การประเมินศักย์ของแอ่งในการให้น้ำมัน ถ้าเชื่อว่าน้ำมันมาจาก Non-Marine Source ภายในแอ่ง เราก็อาจจะเคร่าๆได้ว่าแอ่งไหนควรจะมีน้ำมันมากน้อยได้ ตัวอย่างเช่น แอ่งกำแพงเพชรถ้าดูในแผนที่จะใหญ่กว่าแอ่งฝางมาก ศักย์ในการให้น้ำมันย่อมมีมากกว่าตามตัว โอ่งควรจะบรรจุน้ำได้มากกว่าขัน


              ทฤษฎี “กำเนิดน้ำมันฝาง” และ Models ต่างๆของแอ่งเทอร์เซียรี (Tertiary) ในประเทศไทย ทฤษฎีนี้ผู้ตั้ง (นายไสว สุนทรโรวาท) ได้เสนอ National Academy of Sciences National Research Council (ในขณะนั้น) เมื่อปี 1963 และได้ตีพิมพ์เป็นรายงานการวิจัยฉบับที่ 7 (จำหน่ายหมดแล้ว) ของกรมทรัพยากร เมื่อปี 1964 โดย Agency for International Development (AID) ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ทั้งหมด ใจความของทฤษฎีนี้มีดังนี้


              ความจริงทฤษฎีที่เสนอเป็นทฤษฎีทั่วไปของน้ำมันที่มีกำเนิดบนบก (Non-Marine , Lacustrine (ทะเลสาบ) Environment) โดยถือเอาน้ำมันที่ฝางเป็น Special Case เท่านั้น ผู้เสนอมีความเชื่อว่า Source Material ของน้ำมันแบบ Non-Marine , Lacustrine Environment นั้นมาจาก Humic Substances อันได้จากการเปลี่ยนแปลงของ Land Plants บนบก ผสมกับ Lipoid Substances ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากพืชบนบก เช่น Wax, Resin เป็นต้น บวกกับอีกส่วนหนึ่งจากพืชในน้ำ (Aquatic Plants) เช่น Algae เป็นต้น อนึ่ง ทั้ง Humic Substances และ Lipoid Substances ก็เป็นต้นกำเนิดของถ่านหิน (Coal) และ หินน้ำมัน (Oil Shale) ด้วย ฉะนั้นเราจะเห็นความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของทั้ง 3 อย่างใน Non-Marine Environment ในสมัยราว 20 ปีมาแล้ว ความเชื่อถือในเรื่องน้ำมันมีกำเนิดมาจาก Marine Environment ยังแรงมาก นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่จึงมักไม่มีศรัทธาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างถ่านหินกับน้ำมัน ทั้งนี้เพราะว่ามันมีกำเนิดคนละ Environment จนแทบจะไปกันไม่ได้เลยทีเดียว ฉะนั้น ทฤษฎี “กำเนิดน้ำมันฝาง” จึงจัดอยู่ในประเภท “นอกคอก” ก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหลังจากได้มีความสนใจในเรื่องน้ำมันแบบ Non-Marine มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้พอสรุปได้ว่าทฤษฎี “กำเนิดน้ำมันฝาง” เข้ากันได้กับทฤษฎีสากลใหม่ๆที่เสนอออกมา


              ถ้าหากเราเชื่อใน “ทฤษฎีน้ำมันฝาง” แล้วมาพิจารณาดูแอ่งเทอร์เซียในประเทศไทย (ซึ่งพบทั่วไปตั้งแต่ชายแดนเหนือสุดจนถึงใต้สุดรวมทั้งในอ่าวไทยด้วย) เรามักจะพบถ่านหินกับหินน้ำมันอยู่เสมอในแอ่งเหล่านี้ แม้แต่แอ่งเทอร์เซียในอ่าวไทยก็ยังพบถ่านหินด้วย ซึ่งทำให้เราอดคิดต่อไปไม่ได้ว่า นอกจากแอ่งฝางซึ่งเรารู้ว่ามีน้ำมันมานานแล้วนั้นจะไม่มีแอ่งเทอร์เซียอื่นๆอีก หรือที่น่าจะพบน้ำมันได้อีก ถ้าหากน้ำมันมีความสัมพันธ์ในแง่กำเนิดกับถ่านหินและหินน้ำ มันจริงดั่งทฤษฎีว่าไว้ ในปัจจุบันนี้เรารู้แน่แล้วว่าข้อความข้างต้นเป็นจริง เพราะเราพบน้ำมันในแอ่งกำแพงเพชร (จะเรียกสุโขทัยก็ได้) และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (สันนิษฐานว่าอุณหภูมิข้างใต้สูงเกินไปจึงได้ก๊าซเป็นส่วนใหญ่แทนที่จะได้น้ำมันตามปกติ)


              เราได้กล่าวถึงความสำคัญของทฤษฎีและแบบจำลองในการสำรวจน้ำมันมาแล้วข้างต้น มาถึงตอนนี้จะได้สรุปแบบจำลองของกำเนิดแบบต่างๆ กันของน้ำมันในแอ่งเทอร์เซียรีในอ่าวไทยเท่าที่มีความรู้เวลานี้ หลักฐานเท่าที่มีในปัจจุบันพอสรุปได้ว่า Models ของกำเนิดน้ำมันในแอ่งเทอร์เซียรีในประเทศไทยมีเพียง 2 แบบ คือ


1.    Model-1 เป็นแบบน้ำมันมาจาก Non-Marine Tertiary Source เกิดใน Non-Marine , Lacustrine Environment พบที่ฝางและกำแพงเพชร แบบจำลองนี้เข้ากับ “ทฤษฎีน้ำมันฝาง” และใช้ได้กับแอ่งเทอร์เซียรีบนบกหรืออาจจะในอ่าวไทยบางส่วน

2.    Model-2 เป็นแบบน้ำมันมาจาก Non-Marine Tertiary Source และอาจจะมี Marine Tertiary Source ผสมบางส่วน ซึ่งยังคงมีปัญหาถกเถียงกันอยู่ ส่วน Environment เป็นแบบ Paralic (ครึ่งบกครึ่งน้ำ) Model นี้ใช้ได้ในอ่าวไทย (บางส่วน) เท่านั้น

ส่วน Model อื่นๆ ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ